แท้จริงการมีภรรยาเกินกว่าหนึ่งนั้นเราสามารถเห็นได้ในสังคมปัจจุบัน แต่ในสังคมที่ไม่ใช่อิสลามแล้วเรื่องนี้ถูกใช้ในนามของ เพื่อนรัก เพื่อนชู้ แทนที่การเป็นในลักษณะสามีภรรยา และการมีภรรยาในลักษณะนี้เป็นการเกินเลยขอบเขตเหลือเกิน(มากกว่าสี่คนด้วยซ้ำ) และเป็นไปโดยไม่มีกระบวนการทางกฎหมายมาควบคุม อีกทั้งฝ่ายชายยังไม่ต้องรับผิดชอบด้านการเงินต่อสตรีอีกด้วย ซึ่งจะดํารงชีวิตกับเธอเพียงเพื่อตอบสนองตัณหาของเขาเท่านั้น เขาจะทําเกียรติยศของทุกคนที่ติดต่อกับเขาให้สกปรก แล้วท้ายที่สุดก็ทิ้งเธอไปโดยที่เธอต้องทนกับความเจ็บปวดเมื่อเธอตั้งครรภ์หรือต้องเผชิญกับเรื่องอื่นๆที่ตามมา และสำหรับผู้ชายแล้วไม่จําเป็นต้องยอมรับบุตรที่คลอดออกมาเพราะความสัมพันธ์ดังกล่าว
ส่วนเรื่องการมีภรรยาเกินกว่าหนึ่งในสังคมอิสลาม ถูกจํากัดคือห้ามเกินกว่าสี่ และต้องเป็นไปด้วยพิธีทางศาสนาที่ถูกต้อง และบังคับให้ฝ่ายชายจ่ายมะฮัรฺ(สินสอด)ด้วย และบุตรที่เกิดจากภรรยาเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองหลังพิธีถือว่าเป็นหน้าที่ของฝ่ายชายที่ต้องยอมรับในฐานะที่เป็นบุตรของเขาอย่างถูกต้องตามหลักการ และเขาจําเป็นต้องรับผิดชอบในการเลี้ยงชีพภรรยาและบุตร
มีบางคนถามว่า ถ้าเราอนุมัติให้ผู้ชายมีภรรยามากกว่าหนึ่ง เหตุใดไม่อนุมัติให้สตรีบ้าง ?คําตอบคือ การขอความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในเรื่องนี้ ถือว่า เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ด้วยเหตุผลทางธรรมชาติของผู้ชายและสถานภาพของสตรี ดังนี้ :
ตามธรรมชาติของผู้ชาย : ส่วนมากแล้วผู้ชายในสังคมทั่วไปในโลกนี้มีภาระหน้าที่ในการเป็นหัวหน้าครอบครัวเนื่องจากเขาคือผู้ที่เข้มแข็งที่สุด และเราอย่าไปคิดถึงบางสถานการณ์ที่ไม่ตรงกับกฎที่ว่านี้ เพราะสตรีที่เข้มแข็งกว่าผู้ชายนั้นคือส่วนน้อยมาก
ถ้าสตรีมีสามีสองคนหรือมากกว่า ใครเล่าจะเป็นหัวหน้าครอบครัวในบ้านหลังเดียวกัน? แล้วตัวนางเอง จะนอบน้อมและเคารพเชื่อฟังต่อใครในสิ่งที่นางปรารถนา ? กับสามีทุกคนกระนั้นหรือ? มันเป็นไปไม่ได้เด็ดขาดเพราะความปรารถนาที่แตกต่างกันระหว่างพวกเขาทั้งสอง แต่ละคนต่างมีความปรารถนาของตัวเอง การอยู่กันแบบนี้ จะสร้างความกริ้วโกรธแก่พวกเขาแน่นอน !
ตามสถานภาพของสตรี : โดยธรรมชาติแล้ว สตรีจะตั้งครรภ์จากชายคนเดียวมากกว่าหนึ่งครั้งในรอบปีไม่ได้ ต่างกับผู้ชายซึ่งเขาสามารถมีลูกหลายๆ คนได้จากผู้หญิงหลายๆ คนในเวลาเดียวกัน ถ้าเราอนุมัติให้สตรีมีสามีมากกว่าหนึ่งคนได้ ลูกที่ออกมาจะเป็นของสามีคนใด ?
ในโอกาสนี้เราขออ้างถึงส่วนหนึ่งของคําพูดนักวิชาการชาวตะวันตกบางท่าน ซึ่งพวกเขาต่างเรียกร้องเพื่อให้ได้ซึ่งสิทธิด้านการมีภรรยามากกว่าหนึ่ง พวกเขาเห็นว่า ทางนี้ทางเดียวเท่านั้นที่จะเป็นทางแก้สําหรับหลายๆ ปัญหาในสังคมของพวกเขา
การเรียกร้องของบางนักวิชาการตะวันตกเพื่อสิทธิด้านการมีภรรยามากกว่าหนึ่ง
D. G Lebon กล่าวในหนังสือ (วัฒนธรรมอาหรับ) ว่า
“แท้จริงแล้วการมีภรรยามากกว่าหนึ่งช่วยสังคมให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายของการชู้สาว และผู้คนจะได้หลีกเลี่ยงจากการได้บุตรหลานที่ไม่มีพ่อ คือ เด็กข้างถนนที่ถูกทอดทิ้งนั่นเอง”
Mrs. Annie Besant กล่าวในหนังสือของเธอที่ชื่อ อัลอัดยาน อัลมุนตะศิเราะฮฺ ฟิลฮินดฺ
“ฉันได้อ่านในคัมภีร์โตราห์ในช่วงพันธะสัญญาเดิม พบว่าสหายที่รักของอัลลอฮฺผู้ซึ่งหัวใจของเขามีความคิดที่คล้อยตามความต้องการของอัลลอฮฺ เป็นคนที่มีภรรยาเกินกว่าหนึ่ง นอกเหนือจากนั้นจะเห็นได้ว่า ในหนังสือไบเบิลยุคพันธะสัญญาใหม่ไม่ได้ห้ามการมีภรรยาหลายคนแต่อย่างใด ยกเว้นคนที่เป็นบาทหลวงหรือผู้รักษาโบสถ์เพราะทั้งสองถูกบังคับให้มีภรรยาแค่หนึ่งคนเท่านั้น และฉันยังค้นพบว่า ในหนังสืออินเดียเก่ามีการกล่าวถึงการมีภรรยาเกินกว่าสี่เหมือนกัน
ดังนั้นสิ่งที่พวกเขาโจมตีอิสลามเพราะถือว่าเป็นการง่ายสําหรับมนุษย์ที่จะสืบหาข้อตําหนิด้านความเชื่อของผู้อื่นแล้วค่อยๆ กระจายข่าวออกไป ในทางกลับกันทําไมชาวตะวันตกที่ยกขบวนการเพื่อโจมตีการมีภรรยาเกินกว่าสี่เฉพาะกับชาวตะวันออกเท่านั้น ทั้งๆ ที่ในประเทศของพวกเขาเต็มไปด้วยการผิดประเวณี ?
ถ้าเราใช้สติปัญญาในการครุ่นคิดสักนิด เราจะไม่พบหญิงผู้เป็นภรรยาที่บริสุทธิ์และได้รับการให้เกียรติแม้แต่คนเดียว ยกเว้นภรรยาที่อยู่ภายใต้ผู้ชายที่บริสุทธิ์เท่านั้น ดังนั้น เราไม่อาจกล่าวว่าพวกเขาคือประชาชาติผู้อยู่เคียงคู่ภรรยาเพียงคนเดียวได้ เพราะในสังคมของพวกเขายังนิยมการมีคู่รักสาวหลังม่านนอกเหนือจากภรรยาที่ถูกต้อง
ถ้าเราจะวัดเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยความยุติธรรมที่เที่ยงตรงแล้ว จะพบว่าการมีภรรยามากกว่าหนึ่งในระบบอิสลามที่พิทักษ์รักษาและปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีของสตรี ตลอดจนการดูแลเธออย่างถูกต้องย่อมประสบความสําเร็จมากกว่าระบบการผิดประเวณีแบบตะวันตก ที่เปิดโอกาสให้ผู้ชายครอบบครองสตรีเพียงเพื่อสนองตอบอารมณ์ความใคร่ของเขาเท่านั้น หลังจากที่เขาอิ่มเอิบในความใคร่แล้ว เขาจะทิ้งขว้างเธอทันที ...”
อับดุรเราะห์มาน อับดุลกะรีม อัช-ชีหะฮฺ
แปลโดย : อิบนุ ร็อมลี ยูนุส / Islam House
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น